ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงตั้งกองทัพขับกบฎเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังจากเสร็จจากการปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์แล้ว ได้มีพระศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้น โดยร่วมกับพระน้องยาเธอ และพระเจ้าน้องยาเธอร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก ๔ พระองค์ คือ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ในการปฏิสังขรณ์นี้ ไม่ปรากฏว่าได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม เพียงแต่บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะเดิมแล้ว ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ ๕ องค์เรียงรายด้านหน้าวัด ลุถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า " วัดเบญจบพิตร " ซึ่งหมายถึงวัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๒ ในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสร้าง "พระราชวังดุสิต" นั้น วัดได้ถูกยุบไป ๒ วัด คือ วัดดุสิตและวัดร้าง พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นการทดแทนผาติกรรมวัด ที่ถูกยุบไปดังกล่าว และเพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไปอีกด้วย พระองค์จึงได้ทรงเลือกเอาพระอารามวัดเบญจบพิตร ในการที่จะปรับปรุงขยายให้เป็นวัดที่ใหญ่โตยิ่งขึ้น
Wat Benchamabopit (วัดเบญจมบพิตร)
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิด "ราชวรวิหาร" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาขึ้น โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ วัดเบญจมบพิตรฯ ตั้งอยู่ริมถนนนครปฐม ติดริมคลองเปรมประชากร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นในสมัยใด เดิมเป็นวัดเก่าเล็กๆของราษฎรวัดหนึ่ง ชื่อว่า " วัดแหลม " เพราะอยู่ปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา และชื่อว่า " วัดไกรทอง " เพราะเห็นจะมีต้นไทรปรากฏอยู่ในวัด
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงตั้งกองทัพขับกบฎเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังจากเสร็จจากการปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์แล้ว ได้มีพระศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้น โดยร่วมกับพระน้องยาเธอ และพระเจ้าน้องยาเธอร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก ๔ พระองค์ คือ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ในการปฏิสังขรณ์นี้ ไม่ปรากฏว่าได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม เพียงแต่บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะเดิมแล้ว ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ ๕ องค์เรียงรายด้านหน้าวัด ลุถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า " วัดเบญจบพิตร " ซึ่งหมายถึงวัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๒ ในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสร้าง "พระราชวังดุสิต" นั้น วัดได้ถูกยุบไป ๒ วัด คือ วัดดุสิตและวัดร้าง พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นการทดแทนผาติกรรมวัด ที่ถูกยุบไปดังกล่าว และเพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไปอีกด้วย พระองค์จึงได้ทรงเลือกเอาพระอารามวัดเบญจบพิตร ในการที่จะปรับปรุงขยายให้เป็นวัดที่ใหญ่โตยิ่งขึ้น
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงตั้งกองทัพขับกบฎเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังจากเสร็จจากการปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์แล้ว ได้มีพระศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้น โดยร่วมกับพระน้องยาเธอ และพระเจ้าน้องยาเธอร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก ๔ พระองค์ คือ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ในการปฏิสังขรณ์นี้ ไม่ปรากฏว่าได้สร้างเสนาสนะเพิ่มเติม เพียงแต่บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะเดิมแล้ว ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ ๕ องค์เรียงรายด้านหน้าวัด ลุถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า " วัดเบญจบพิตร " ซึ่งหมายถึงวัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๒ ในการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสร้าง "พระราชวังดุสิต" นั้น วัดได้ถูกยุบไป ๒ วัด คือ วัดดุสิตและวัดร้าง พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นการทดแทนผาติกรรมวัด ที่ถูกยุบไปดังกล่าว และเพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไปอีกด้วย พระองค์จึงได้ทรงเลือกเอาพระอารามวัดเบญจบพิตร ในการที่จะปรับปรุงขยายให้เป็นวัดที่ใหญ่โตยิ่งขึ้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น